ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
บ๊อช ประเทศไทย
ความยั่งยืน ค่านิยม และการปฏิบัติสอดคล้องทางกฎหมาย

ความรับผิดชอบของเรา

การที่เราดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพราะว่าเราเล็งเห็นความสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และปกป้องวิถีชีวิตของคนรุ่นปัจจุบันตลอดจนในอนาคต เรามุ่งหมายที่จะทำให้พลังงานหมุนเวียนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและทำให้การขับขี่ ปลอดภัย สะอาด และประหยัดมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศอย่างครอบคลุม

กลยุทธ์ที่ชัดเจนเพื่อความยั่งยืนยิ่งขึ้น

กลยุทธ์ความยั่งยืนของ Bosch ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ที่สามารถจับต้องได้ในทุกประเด็นที่เราให้ความสำคัญ หลายปีมาแล้วที่เราได้ทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้เป้าหมายเหล่านั้นกลายเป็นจริง

ภาพกราฟิกแสดงวิสัยทัศน์เป้าหมายด้านความยั่งยืนของ Bosch โดยแสดงมิติทั้งหกด้านของวิสัยทัศน์เป้าหมายที่จัดเรียงในรูปหกเหลี่ยม มิติการดำเนินการด้านสภาพอากาศประกอบด้วยหัวข้อ "การลดการปล่อย CO₂" และ "ประสิทธิภาพของพลังงานและพลังงานหมุนเวียน" มิติน้ำประกอบด้วยหัวข้อ "การขาดแคลนน้ำ" และ "คุณภาพน้ำ" มิติเศรษฐกิจหมุนเวียนประกอบด้วยหัวข้อ "ประสิทธิภาพของวัสดุ" และ "ชีวิตที่สอง" มิติความหลากหลายประกอบด้วยหัวข้อ "ความยุติธรรม" และ "การยอมรับและรวมความแตกต่าง" มิติด้านสิทธิมนุษยชนประกอบด้วยหัวข้อ "ความรับผิดชอบ" และ "ความโปร่งใส" มิติด้านสุขภาพประกอบด้วยหัวข้อ "ความปลอดภัยในการทำงาน" และ "สารที่น่าเป็นห่วง" ตรงกลางรูปหกเหลี่ยมเขียนว่า "มิติใหม่ ความยั่งยืน 2025"
วิสัยทัศน์เป้าหมาย "มิติใหม่ - สู่ความยั่งยืน 2025"

บ่อยครั้งที่ความยั่งยืนมักถูกนิยามว่าเป็นสภาวะความสมดุลของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ในขณะเดียวกัน ความยั่งยืนได้กลายเป็นแนวคิดซึ่งเป็นที่ยอมรับในตลาดทุนภายใต้ชื่อย่อ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล) ซึ่งความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องความยั่งยืนของเรา ได้รวมแนวทางทั้งสองนี้ไว้ด้วยกัน สิ่งนี้กำหนดทิศทางและรูปแบบการจัดการความยั่งยืนของเราให้ชัดเจนในทุกระดับ และทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการของเรามีประสิทธิภาพ ดังนั้น การที่เราดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพราะว่าเราต้องการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และปกป้องวิถีชีวิตของคนรุ่นปัจจุบันตลอดจนในอนาคต

วิสัยทัศน์เป้าหมาย “มิติใหม่ - สู่ความยั่งยืน 2025” ของเราคือการแปลงความทะเยอะทะยานนี้ให้เป็นรูปธรรม เมกะเทรนด์ที่ส่งผลต่อบริษัทและผลการวิเคราะห์สาระสำคัญต่างๆของเราจะเป็นตัวกำหนดกิจกรรมของเราในปีต่อๆไป

ข้อเท็จจริงและตัวเลข

“เปิดเผยและตรงไปตรงมา ครอบคลุมและโปร่งใส” นั่นคือเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการรายงานความยั่งยืนของเรา ท้ายที่สุดแล้ว เราต้องการเป็นหุ้นส่วนในสังคมที่ไม่เพียงแต่มีความรับผิดชอบ ทว่ายังมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย

รายงานความยั่งยืนของ Bosch

รายงานความยั่งยืนปัจจุบัน

บันทึกข้อเท็จจริงประจำปีของเรา ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของเราให้มีความโปร่งใส ครอบคลุมและตรวจสอบได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ Global Reporting Initiative

ค่านิยมของเรา — สิ่งที่เป็นรากฐานของเรา

ค่านิยม สะท้อนถึงวิธีการดำเนินธุรกิจของเรา ซึ่งรวมถึงจรรยาบรรณทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า คู่ค้า นักลงทุน พนักงาน และสังคมโดยรวม

อนาคตและการมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์

การทำงานของบ๊อชมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ ทำให้พวกเราสามารถสร้างความมั่นคงให้กับอนาคตของบริษัท และยังถือเป็นรากฐานที่ดีทั้งในการสร้างสรรค์เพื่อสังคมและมูลนิธิที่ก่อตั้งบริษัท

ความรับผิดชอบและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เราดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและตระหนักถึงประโยชน์อันพึงมีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ความคิดริเริ่มและความมุ่งมั่น

จากความคิดริเริ่มสู่การลงมือปฏิบัติจริง บ๊อชมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบการ และมีความมุ่งมั่นในการทำเป้าหมายขององค์กรให้ลุล่วง

การเปิดกว้างและความไว้วางใจ

บ๊อชติดต่อสื่อสารงานสำคัญของบริษัทได้ตามเวลากำหนดและมีความยืดหยุ่น ถือเป็นรากฐานอันดีเยี่ยมในการสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจต่อกัน

ความเป็นธรรม

พวกเรามีการจัดการอย่างเป็นธรรมทั้งกับเพื่อนร่วมงานและพันธมิตรทางธุรกิจ และเชื่อว่าความเป็นธรรมคือสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ และการเคารพกฎหมาย

เราให้คำมั่นเฉพาะสิ่งที่เราสามารถส่งมอบได้ ยอมรับในข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย รวมทั้งเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายในการดำเนินธุรกิจของเรา

ความหลากหลาย

บ๊อชเห็นคุณค่าและส่งเสริมความหลากหลายในองค์กร และเชื่อว่าความหลากหลายคือส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของพวกเรา

ภาพวาดของโรเบิร์ต บ๊อช

ในระยะยาว วิธีการทำธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรมย่อมเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด

โรเบิร์ต บ๊อช ปี 1921
โลโก้ "เราคือบ๊อช" ที่สนามทดสอบของบ๊อชในยาเกชิ ประเทศจีน

เราคือบ๊อช

คำแถลงพันธกิจของเราอธิบายถึงสิ่งที่เป็นแรงผลักดันเรา สิ่งที่เรามีร่วมกันและสิ่งที่เรายืนหยัด เราต้องการฝากชื่อไว้ในโลกซึ่งสำเร็จได้ด้วยทีมที่โดดเด่น

การกำกับดูแลองค์กร — มากกว่าเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด

การกำกับดูแลองค์กร ครอบคลุมถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและแนวปฏิบัติของบริษัท สิ่งนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ Bosch ยึดถือ ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้กำหนดจุดยืนของเราอย่างชัดเจนเกี่ยวกับข้อบัญญัติตามกฎหมายและข้อกำหนดเชิงจริยธรรมภายใต้จรรยาบรรณธุรกิจที่เรานำมาบังคับใช้ทั่วโลก เมื่อผนวกกับค่านิยมองค์กรของ Bosch สิ่งนี้จึงเป็นรากฐานที่เราเชื่อว่าเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของบริษัท และเนื่องจากการมีความรับผิดชอบและการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายมีความสำคัญเกินกว่าขอบเขตการดำเนินธุรกิจของบริษัท เราจึงกำหนดมาตรฐานและความควาดหวังที่เรามีต่อพันธมิตรทางธุรกิจของเราให้มีความสอดคล้องกันในส่วนของจรรยาบรรณธุรกิจ

Dr. Stefan Hartung
Dr. Stefan Hartung ประธานกรรมการบริหาร
จรรยาบรรณธุรกิจ

จรรยาบรรณธุรกิจ

จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ

จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ

ระบบบริหารการกำกับดูแลองค์กร

ระบบบริหารการกำกับดูแลองค์กรของ Bosch ให้กรอบการทำงานในการส่งเสริมการปฏิบัติตามข้อกำหนดโดยมีผลผูกพันทั่วโลก และช่วยลดความเสี่ยงในการฝ่าฝืนข้อกำหนด ซึ่งเป็นพื้นฐานของแนวปฏิบัติตามข้อกำหนดสำหรับภายในและภายนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังนิยามข้อกำหนดขั้นต่ำในส่วนของกระบวนการอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความสอดคล้อง ซึ่งประกอบด้วยมาตรการป้องกันและควบคุมต่างๆ ตลอดจนระบบแจ้งเบาะแสภายในของ Bosch พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ และบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงระบบนี้ได้ทุกเมื่อเพื่อรายงานการละเมิดข้อกำหนด โดยไม่จำเป็นต้องระบุตัวตน

คำถามที่พบบ่อย

การกำกับดูแล หมายถึงการดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบของบริษัท กล่าวคือ กิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดในกลุ่มบริษัทบ๊อช และพนักงานของบ๊อช?ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ?หลักปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ (ดูเอกสารแนบ) และแนวทางคำสั่งจากส่วนกลางอื่นๆ ที่บังคับใช้ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ (“ข้อกำหนดในการปฏิบัติตามกฎหมาย”)

หัวข้อการกำกับดูแล เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพนักงานทุกคนเนื่องจากการละเมิดส่งผลกระทบต่อทุกคนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือในอีกแง่หนึ่ง การละเมิดกฎหมายอาจนำไปสู่การฟ้องคดีอาญา ซึ่งเป็นการทำลายบริษัททั้งในแง่ของข้อมูลและภาพลักษณ์โดยรวมของกลุ่มบริษัทบ๊อช โดยอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพทางธุรกิจของบริษัท รวมถึงผลกำไร

นอกจากนี้ การกำกับดูแล ยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างบ๊อช และบุคคลที่สาม บ๊อชไม่มีนโยบายสนับสนุนการละเมิดของบุคคลที่สามเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านการกำกับดูแล

พนักงานทุกคนมีหน้าที่ในการรายงานการฝ่าฝืนด้านการกำกับดูแล ช่วยจำกัดผลกระทบจากการฝ่าฝืนดังกล่าว และป้องกันการประพฤติผิดในลักษณะเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เรื่องนี้ยังถือเป็นแนวปฏิบัติต่อคู่ค้าทางธุรกิจ และบุคคลภายนอกอีกด้วย

• ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ รวมถึงผู้ฝึกงานและนักศึกษาปริญญาเอก

• บุคคลที่ได้รับการว่าจ้างมาจากภายนอก เช่น พนักงานจ้างเหมาหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งทำงานให้กับผู้ให้บริการจากภายนอก

• คู่ค้าธุรกิจใดๆ เช่น ซัพพลายเออร์ ลูกค้า พันธมิตรร่วมทุน

• บุคคลภายนอกใดๆ

เรื่องที่ควรรายงานต้องแสดงให้เห็นถึงการกระทำผิดทางอาญา เช่น การลักขโมย การฉ้อโกง การติดสินบน การทำผิดกฎหมายอย่างเป็นระบบ หรือละเมิดระเบียบภายในของบริษัท เช่น การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพ / ความปลอดภัย หรือจงใจปฏิบัติไม่สอดคล้องต่อ “จรรยาบรรณทางธุรกิจ”

ควรรายงานต่อเจ้าหน้าที่กำกับดูแลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง รวบรวมหลักฐานที่จำเป็นในชั้นศาล และการยื่นฟ้องพิจารณาคดีหากจำเป็น เจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากแผนกผู้ชำนาญการซึ่งผ่านการฝึกอบรมที่จำเป็นและมีอำนาจที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่รายงานประเด็นการละเมิดด้านการกำกับดูแลด้วยความสุจริตใจ ไม่จำเป็นต้องกลัวผลกระทบจากบริษัทอันเนื่องมาจากการรายงานดังกล่าว

ได้ สามารถส่งรายงานโดยไม่เปิดเผยชื่อได้ผ่านสายด่วนเรื่องการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของบ๊อช สามารถจัดตั้งกล่องข้อความที่ปลอดภัยภายในสายด่วนเพื่อโต้ตอบกับเจ้าหน้าที่กำกับดูแลที่รับผิดชอบโดยไม่เปิดเผยชื่อ

เจ้าหน้าที่กำกับดูแลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของการฝ่าฝืนที่รายงานมาและทำให้แน่ใจว่าประเด็นนั้น ๆ ได้ีัรับการแก้ไขอย่างเหมาะสม (หากจำเป็น โดยมีการสนับสนุนจากแผนกผู้เชี่ยวชาญของบ๊อขหรือผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก)

ทุกรายงานการฝ่าฝืนที่อาจเกิดขึ้นได้รวมถึงมาตรการที่จะดำเนินการต่อมานั้นจะต้องจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบโดยเจ้าหน้าที่กำกับดูแล โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บุคคลที่รายงานประเด็นดังกล่าวอาจจะถามถึงสถานะของการสอบสวน ถ้าการสอบสวนในประเด็นนั้น ๆ ตกไปเนื่องจากไม่พบการประพฤติมิชอบที่เกี่ยวข้อง บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้รับการแจ้งให้ทราบตามนั้นโดยมีการขอให้แสดงความคิดเห็นในระหว่างการสอบสวนหรือร้องขอข้อมูลดังกล่าว

โดยปกติแล้ว รายงานเรื่องการฝ่าฝืนการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ใดๆ จะเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น การรับรายงานดังกล่าวและดำเนินกระบวนการที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีการยืนยันว่า บุคคลที่รายงานได้รับการแจ้งให้ทราบถึงสิทธิของตนภายใต้กฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนตัวของตนในระหว่างการสอบสวนประเด็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ทั้งนี้ ไม่ต้องปฏิบัติเช่นนี้ในกรณีที่รายงานส่งมาโดยไม่เปิดเผยชื่อ

ติดต่อบ๊อช

เรายินดีตอบข้อสงสัยของคุณ

ส่งข้อความหาเรา